Sponsored

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

ของเล่น บนโต๊ะทำงาน

ไม่มีใครบนโลกที่เติบโตมาโดยไม่รู้จัก “ของเล่น” เพราะของเล่นถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตในช่วงเริ่มต้นชีวิต เป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และพัฒนาการให้เด็กๆ ในแต่ละช่วงวัย เราจึงคุ้นเคยกับของเล่นมาตั้งแต่เด็ก กระทั่งโตมาเป็นผู้ใหญ่ก็ยังมี “ของเล่น” บางอย่างที่ยังเล่นอยู่ เพียงแต่ความหมายในคุณค่าของการเล่นนั้น ได้เปลียนไปตามช่วงวัยที่เราเติบโตขึ้นเท่านั้น

ในวิกิพีเดียได้ให้ความหมายกับ “ของเล่น” ว่า หมายถึงสิ่งของใดๆ ที่สามารถนำมาใช้เล่นได้โดยมากของเล่นมักจะมีความเกี่ยวข้องกับเด็กและสัตว์เลี้ยง แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะบางครั้งผู้ใหญ่ก็มีของเล่นเฉพาะแบบเช่นกัน และ “ของเล่น” ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ตั้งใจผลิตมาเพื่อเล่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจเป็นสิ่งของใดๆ ก็ได้ หากสามารถนำมาเล่นเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินได้ เช่น โยนเล่น ปาเล่น หมุนเล่น ก็สามารถเป็นของเล่นได้ด้วยเหตุนี้ เราจึงมักเห็น “ของเล่น” ชิ้นเล็กวางอยู่บนโต๊ะทำงานของใครหลายคนเหมือนเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้สำคัญในการทำงาน ยามต้องการพักหรือเปลี่ยนบรรยากาศจากงานตรงหน้า

แต่การ
เลือกของเล่นมาเล่นเพื่อคลายเครียดในที่ทำงานนั้น อาจจะต้องระวังในเรื่องวิธีเล่นอยู่สักหน่อย เพราะของเล่นบางอย่างแม้จะช่วยคลายเครียดได้แต่ก็อาจใช้เวลาในการเล่นมากเกินไป เช่น ภาพต่อจิ๊กซอว์ หรือ เกมส์บางเกมส์ที่ยิ่งเล่นยิ่งคิดมาก ยิ่งมันส์ ยิ่งติดพัน ของเล่นที่อยู่บนโต๊ะทำงานจึงควรเป็นของเล่นประเภทที่เล่นได้เรื่อยๆ ไม่ต้องใช้ความต่อเนื่อง ไม่ต้องใช้ความคิดมากเกินไป อาจเป็นของเล่นที่ช่วยให้เราได้ขยับกล้ามเนื้อ เช่น คิวบิค หรือหุ่นยนต์ตัวเล็กๆ ที่เราต้องขยับนิ้วหรือข้อมือเวลาเล่น รวมทั้งตุ๊กตาหรือลูกบอลที่เอาไว้บีบๆ เพื่อนวดฝ่ามือ เพราะคนทำงานส่วนใหญ่มักอยู่ท่าไหนท่านั้น ยิ่งกลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์ ยิ่งขยับน้อยเข้าไปอีก ได้ขยับนิ้วไม่กี่นิ้ว แถมเป็นการขยับในลักษณะซ้ำๆ อยู่ตลอดเวลา

ของเล่นพวกกระบะทราย กระดานแม่เหล็กที่เอาไว้ขีดๆ เขียนๆ ก็เป็นของเล่นที่หลายคนนิยมเล่นเพื่อปลดปล่อยอารมณ์และจินตนาการเพราะการครุ่นคิดอยู่กับเรื่องๆ หนึ่ง ในรูปแบบหรือวิธีการเดิมๆ บางทีก็ไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาได้เสมอไป อีกกลุ่มหนึ่งที่มักเห็นอยู่บนโต๊ะทำงาน คือ ของเ
ล่นกึ่งๆ ของโชว์ ประเภทลูกตุ้มโมเมนตั้ม อุปกรณ์กีฬาขนาดจิ๋ว เช่น โต๊ะสนุ๊ก ถาดพัตต์กอล์ฟ สนามกอล์ฟ หรือสนามแข่งรถเล็กๆ ซึ่งนอกจากจะได้ในเรื่องของความสวยงามยามวางอยู่นิ่งๆ แล้ว ก็ยังสามารถใช้งานในการบำบัดอารมณ์ได้เป็นอย่างดี

สำหรับลูกตุ้มโมเมนตั้มนั้น บางคนบอกว่าเอาไว้ดับไฟในอารมณ์ เพราะมองแล้วช่วยให้อารมณ์เย็นลงได้ หรือจะใช้เป็นจุดพักสายตา เปลี่ยนบรรยากาศจากการมองภาพหรือตัวหนังสือนิ่งๆ บนหน้าจอคอมพ์ มาเป็นการมองสิ่งเคลื่อนไหวอื่นๆ บ้างก็ยังได้ ส่วนอุปการณ์ขนานดจิ๋วนั่น มักเป็นความชอบส่วนตัวที่พอได้เล่นนิดๆ หน่อยๆ ก็รู้สึกสุขใจคลายเครียดได้อย่างน่าอัศจรรย์แถมบางทียังใช้เป็นอุปกรณ์นันทนาการ กระชับมิตรกับเพื่อนโต๊ะข้างๆ ได้อีกด้วย

“ของเล่น” บนโต๊ะทำงานของแต่ละคน อาจแตกต่างกันตามนิสัยใจคอและความชอบแต่วัตถุประสงค์ของการ “เล่น” ของเล่นนั้นมักไม่แตกต่าง นั่นคือเล่นเพื่อผ่อนคลาด คลายความเมื่อยล้า คลายอารมณ์ คลายความเครียด ที่สำคัญ เล่นเพื่อจะได้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



บทความจากนิตยสาร The eight hours.

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552

วิตามินและสารอาหารสำหรับวัยรุ่น ตอน 2

อาหารบำรุงสายตาวัยรุ่น วัยเทคโนโลยี
ปัจจุบันเทค
โนโลยีต่างๆ ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีผลต่อทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้และก้าวไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เทคโนโลยีที่ฮิตที่สุดของวัยนี้ คงต้องยกให้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต โทรทัศน์ แน่นอนว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ แต่ในอีกแง่หนึ่ง ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้กลายเป็นมหัตภัยทำร้ายสุขภาพ โดยเฉพาะ "สายตา" ถ้าไม่มีการป้องกันที่ดีพอ จึงพบปัญหาเด็กสายตาสั้น ตาพร่ามัว และสายตาเสื่อมก่อนวัยอันควร ซึ่งสารอาหารที่ช่วยบำรุ่งสายตาจึงมีบทบาทสำคัญ เพราะสายตาที่ดีย่อมส่งผลให้เด็กวัยรุ่นมีความพร้อมในการพัฒนาด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี



สารอาหารที่จำเป็นต่อการบำรุ่งสายตาของวัยรุ่น ได้แก่
สารกลุ่มคาร์โรทีนอยด์ (Carotenid) เป็นสารประกอบธรรมชาติที่มีอยู่ในผัก และผลไม้ เช่น ฟักทอง แครอท บรอกโคลี ซึ่งสารคาร์โรทีนอยด์ที่สำคัญ เช่น Alpha-carotene, Beta-carotene, Lut
ein, Zeaxznthine, Cryptoxanthine, Lycopene โดยสารคาร์โรทีนอยด์จะเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ และถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายเท่าที่ร่างกายต้องการ

ประโยชน์ของสารกลุ่มคาร์โรทีนอยด์
- ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย และเสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ผิวหนัง ตา จมูก และอวัยวะภายในต่างๆ
- ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อโรค
- เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ คอยปกป้องเซลล์และอวัยวะภายในต่างๆ ของร่ายกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระ
- ช่วยเซลล์ประสาทตา สายตา ป้องกันโรคตาบอดกลางคืน (Night blindness)

ลูติน (Lutein) และซีแซนทิน (Zeaxanthine)
เป็นสารประกอบกลุ่มคาร์โรทีนอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในลูกตา และพบมากที่สุดบริเวณจุดศูนย์กลางของเรตินาภายในลูกตา ที่เรียกว่า มาคิวลา (Macula) ซึ่งลูตินจะเป็นส่วนประกอบของชั้นวัตถุสีเหลืองในตา

ประโยชน์ของสารสูตินและซีแซนทิน
- มีส่วนช่วยดูดซับแสงสีน้ำเงินในแสงแดด แสงจากจอคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อดวงตา
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเรตินาและเลนส์ตา จึงช่วยป้อง
กันจอประสาทตาเสื่อม

อาหารบำรุ่งร่างกายวัยรุ่น วัยเจริญเติบโต
วัยรุ่นต้องการวิตามินและแร่ธาตุมากเป็นพิเศษ เพราะเด็กวัยรุ่นโตเร็วมากและมีการเปลี่ยนแปลงภายในร่าง
กายตามธรรมชาติพร้อมกับการเจริญเติบโตทางเพศและอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ เด็กผู้ชายมักมีการเจริญเติบโตทางกล้ามเนื้อและกระดูก และมักกระฉับกระเฉงว่องไวกว่าเด็กผู้หญิง เด็กผู้หญิงก็มีการเจริญเติบโตทางกล้ามเนื้อและกระดูกเช่นกัน นอกจากนี้เด็กผู้หญิงยังต้องการสารอาหารพิเศษ เพื่อเตรียมในการมีประจำเดือนอีกด้วย

วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

กลุ่มวิตามินที่จำเป็น ได้แก่

วิตามิน B1 (Thiamin) จะช่วยในการเผาผลาญอาหาร เช่น คาร์โบไฉเดรตเพื่อไปใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกายจำเป็นต่อสมอง กล้ามเนื้อ หัวใจ ระบบประสาท เสริมสร้างความคิดที่ฉับไว ตื่นตัว ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม (Alzheimer's) และการแก่เร็วกว่าวัย

การขาดวิตามิน B1 ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ คือ
- เป็นโรคเหน็บชา อาจพบอาการชาทั้งมือและเท้า กล้ามเนื้อแขนและขาไม่มีกำลัง
- ร่ายกายอ่อนเพลีย หลงลืมว่าย กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า
- ถ้าเป็นมากจะมีอาก
ารใจสั่นหัวใจโตและเต้นเร็ว หอบ เหนื่อย

วิตามิน B2 (Tiboflavin) จำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนต่างๆการสร้างเม็ดเลือดแดง เสริมภูมิต้านทาน และการเจริญเติบโตของร่างกายช่วยในการเผาผลาญไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับสมอง

การขาดวิตามิน B2 ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ คือ
- เกิดแผลที่มุมปากทั้งสองข้าง เรียกว่า "ปากนกกระจอก" ริมผีปากแตก เจ็บลิ้น
- ผิวหนังแห้ง ตาแพ้แสงง่าย ขาบวม
- ระบบการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ


Biotin จำเป็นต่อขบวนการเผาผลาญไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรตเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ช่วยในการรักษาสุขภาพของผิวหนัง ผม ระบบประสาท ไขกระดูก การผลิตฮอร์โมนเพศในช่วงวันรุ่น

การขาด Biotin ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ คือ
- จะทำให้ผิวหนังแห้ง ผมร่วง
- ไม่อยากอาหาร จิตใจอ่อนล้า
- ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ตับโต

Folic Acid มีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากช่วยผลิตเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว สร้างเซลล์ ควบคุมอารมณ์ ความอยากอาหาร และการสร้างสารพันธุกรรม DNA และ RNA จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะเด็กทารก เด็กวัยก่อนและวัยเรียนและยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทและสมองให้พัฒนา

การขาด Folic Acid ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ คือ
- อารมณ์ไม่ปกติ แปรปรวนง่าย
- ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุของร่างกายอ่อนเพลียเดินเซ งุนงง

วิตามิน C เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายไม่สามารถผลิตและสะสมวิตามิน C ในร่างกายได้ จึงจำเป็นต้องรับประทานทุกวัน มีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้สุขภาพแข็งแรง ช่วยลดสารอนุมูลอิสระจำเป็นต่อการเสริมสร้างและซ่อมแซมเส้นเลือด และเซลล์ต่างๆ ป้องกันการเป็นหวัด

การขาดวิตามิน C ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ คือ

- คนที่ขาดวิตามินซีมักจะป่วยบ่อย เนื่องจากมีความต้านทานโรคต่ำ
- เหงือกบวมแดง เลือดออกง่าย ถ้าเป็นมากฟันจะโยรวน และมีเลือดออกตามไรฟันง่าย อาการเหล่านี้เรียกว่า "โรคลักปิดลักเปิด"

กลุ่มแร่ธาตุอื่นๆ ที่จำเป็น ได้แก่
ธาตุสังกะสี มีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน กล้ามเนื้อ และกระดูก ช่วยให้แผลหายเร็ว ช่วยกระบวนการเผาผลาญของคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ช่วยพัฒนาระบบสืบพันธุ์ ประสาทสัมผัส เช่น การได้ยิน กลิ่น และการรับรสต่างๆ ช่วยเสริมสร้ามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตา ช่วยบำรุงผิว ผม และเล็บ ป้องกันการเกิดสิว ภูมิแพ้ ดังนั้นช่วยวัยรุ่นจึงมีความต้องการแรธาตุสังกะสีมากขึ้นเมื่อเทียบกับวัยเด็ก ซึ่งพบว่าช่วยวัยรุ่นมีโอกาสที่จะขาดแร่ธาตุสังกะสีได้

การขาด ธาตุสังกะสี ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ คือ
- พบจุดขาวบนเล็บ และผิวหนัง ผมร่วง
- สมาธิสั้นและร่ายกายเจริญเติบโตช้า เตี้ยแคระ

ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือด และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเป็นปกติ โดยช่วยป้องกันและต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาทและกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย

การขาด ธาตุเหล็ก ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ คือ
- เด็กวัยรุ่นที่ขาดธาตุเหล็ก จะพบภาวะโลหิตจาง
- ความสามารถในการเรียนรู้ช้าลง และมีผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาท
- ร่ายกายอ่อนแอ ปวดศีรษะบ่อย เป็นหวัด หรือโรคผิวหนังง่าย

ดังนั้น พ่อ แม่ และทุกคนในครอบครัวจึงควรหันมาใส่ใจ และร่วมกันสร้างคุณภาพชีวิต ดูแลลูกตั้งแต่เด็กจนถึงวันรุ่น ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ความสุขและความอบอุ่นก็จะเกิดขึ้นในครอบครัว วัยรุ่นที่มีความสุขจะสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้น และเป็นเกราะป้องกันตนเองเพื่อก้าวต่อไปเป็นผู้ใหญ่ที่ทำคุณประโยชน์ที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป

...............................................
กลุ่มวัยรุ่นที่ควรได้รับวิตามินและสารอาหาร
1. เด็กที่กำลังเจริญเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นขึ้นไป
2. เรียนหนัก ต้องบำรุ่งสมอง หรือสายตา

3. รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ในแต่ละวัน



สนับสนุนข้อมูลโดย ศูนย์ข้อมูลวิชาการ
บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ พีทีวาย จำกัด
MEGA We Care

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

วิตามินและสารอาหารสำหรับวัยรุ่น

เสริมสติปัญญาและสายตาและสุขภาพของวัยรุ่น ให้มีพัฒนาการที่ดี สมองของเด็กหลังคลอดทั่วโลกจะมีรูปแบบเหมือนกัน โดยแบ่งเป็น 2 ซีก คือสมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการ และความคิดสร้างสรรรค์สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี ส่วนของการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล จะพัฒนาในช่วง 9-12 ปี และสมองทั้งสองด้านจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเด็กอายุ 11-13 ปี แต่สิ่งที่กำหนดใาห้เด็กมีไอคิวต่างกัน คือ วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ การอบรมการเลี้ยงดู เซลล์สมองที่ไม่ได้เชื่อมโยงกันจะถูกทำลาย ซึ่งประสิทธิภาพของสมองนั้นก็จะขาดหายไป เช่น การคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อย่างเช่น คนไทยสมองส่วนนี้จะหดหายไป เพราะเราไม่ได้กระตุ้นให้เด็กฝึกคิด


ปัจจัยที่มีผลต่อสมอง
ปัจจัยที่ทำให้สมองเจริญเติบโตดีสำหรับกลุ่มวัยรุ่น
1.การได้ทำกิจกรรมกลุ่ม เข้าร่วมสังคม
2.ช่วยเหลือตัวเองตามวัย ได้ทำหรือเรียนสิ่งที่ชอบ
3.ได้รับคำชมเชย ความรักจากพ่อแม่/ผู้ใกล้ชิด
4.ศิลปะ ดนตรี กีฬา ออกกำลังกาย ร้องเพลงตามความชอบและอิสระไม่ใช่ท่องทฤษฎี
5.มองตนเองในแง่บวก
6.ได้จินตนาการ เช่นฟังนิทาน
7.เป็นคนยืดหยุ่น
8.ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินบี
9.ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม สร้างกระบวนการคิดมากกว่าเน้นความจำ
10.ออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง

ปัจจัยที่ทำให้สมองถูกทำลายเกิดได้กับทุกวัย
1.ความเครียด จากสาเหตุต่างๆ เช่น
-เรียนหนัก ถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ไม่ชอบ
-ถูกดุหรือต่อว่าทุกวัน ขาดความรักและความอบอุ่น
-ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อน
-มองตนเองในแง่ลบ
-เข้มงวด และวิตกกังวลมากเกินไป

2.สมองไม่ได้ถูกกระตุ้นหรือถูกใช้เลย เช่น การคิดจินตนาการ ความคิดแปลกแตกต่าง คิดแก้ปัญหา
3.ขาดสารอาหาร
4.ความกังวล โกรธ ความเครียดนานๆ จะยับยั้งการเรียนรู้และทำลายสมอง
5.ได้รับสารพิษ ยาเสพติด เหล้า เบียร์ เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ บุหรี่ สารตะกั่ว ฯลฯ


อาหารที่ช่วยบำรุงสมองวัยรุ่น วัยเรียนรู้
อาหารที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการของสมองของวัยรุ่นเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะ "พัฒนาการสมอง"
ของเด็กที่ดี ส่งผลให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพอาหารที่มีประโยชน์โดยตรงต่อการพัฒนาสมองจึงเป็น
สิ่งจำเป็นที่เด็กในวัยนี้ควรได้รับอย่างเพียงพอ เนื่องจาก
-เซลล์สมองของเด็กวัยรุ่นยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาของสมอง
-เพื่อช่วยเสริมสมาธิในการเรียน และความจำ

แต่ในภาวะปัจจุบัน การแข่งขันด้านการศึกษาสูงมาก เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ต้องคร่ำเคร่งกับการเรียน จึงทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน อาหารจานเดียวหรืออาหารขยะที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ จึงเป็นทางเลือกหลักของวัยรุ่นก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้ เช่น โรคภาวะกระดูกพรุน ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง โลหิตจาง โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น ดังนั้นการเสริมอาหารที่ช่วยในการพัฒนา และบำรุงสมองของวัยรุ่น เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้เด็กเล็กเช่นกัน


สารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของวัยรุ่น ได้แก่
DHA(Docosahexaenoic acid) เป็นกรดไขมันจำเป็น ชนิดไม่อิ่มตัวในกลุ่ม Omega 3 DHA ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของเซลล์สมองและประสาทตาข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า 40% ของกรดไขมันในสมอง และ 60% ของกรดไขมันในประสาทตา คือ DHA

ประโยชน์ของ DHA ในการพัฒนาสมองและสายตาของเด็กวัยรุ่น
-ช่วยพัฒนาสมองและสายตา
-ช่วยในการเรียนรู้ เสริมความจำ
-ช่วยป้องกันการเกิดโรคสมาธิสั้น เสริมให้มีสมาธิดีขึ้น
-ช่วยป้องกันการเรียนรู้ช้า ทั่งการอ่านและเขียน


เลซิติน (Lecithin)และโคลีน(Choline)
สารโคลีนในเลซิตินจำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่ายการจะนำโคลีนไปใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสร้างสารสื่อประสาท ที่เรียกว่า อะเซทิลโคลีน(acetylcholine)ใช้ในการสื่อสารของมูลต่างๆ ระหว่างเซลล์ประสาทและเนื้อเยื่อประสาทและเลซิตินยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ในเนื้อเยื่อของอวัยวะสำคัญๆ เช่น สมอง ตับ หัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง ซึ่งมีเลซิตินเป็นส่วนประกอบถึง 30%

ประโยชย์ของเลซิติน ในการพัฒนาสมองของเด็กวัยรุ่น
-ช่วยเสริมพัฒนาการสมอง การพูด การเคลื่อนไหว
-ช่วยในการเรียนรู้ เสริมสร้างความจำที่ดี ควบคุมการส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท
-ช่วยบรรเทาควาทเครียดที่เกิดขึ้นจากการเรียนหนังสือ

สนับสนุนข้อมูลโดย ศูนย์ข้อมูลวิชาการ
บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ พีทีวาย จำกัด
MEGA We Care

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

แหล่งธรรมชาติของโอเมก้า -3 สิ่งมหัสจรรย์ เพื่อหัวใจและสมอง ภาค 2

น้ำมันปลา สำคัญต่อระบบสมอง
1.ลดเซลล์สมองเสื่อม ป้องกันโรคสมองเสื่อม จาการศึกษาพบว่า 40% ของกรดไขมันในสมอง และ 60% ของกรดไขมันในประสาทตา คือ DHA(Docosahexaenoic Acid) ทำให้กรดไขมัน DHA ในน้ำมันปลามีบทบาทที่สำคัญและจำเป็นต่อสมอง ผลวิจัยทางการแพทย์จากมหาวิยาลัย UCLA ของอเมริกา พบว่าการรับประทานน้ำมันปลาช่วยป้องกันสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์(Alzheimer) ได้ เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ในคนสูงอายุกว่า 1,000 คน เป็นเวลา 10 ปี พบว่าระดับ DHA ที่ลดต่ำลงก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม

2.ลดภาวะซึมเศร้า จากการวิจัยพบว่าผู้บริโภคปลาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีอัตราเป็นโรคซึมเศร้าต่ำ เพราะสมดุลของกรดไขมันในร่างกายมีผลต่อความรุนแรงในการเกิดโรคซึมเศร้า คนที่มีระดับของกรดไขมันโอเมก้า-3 ต่ำ และโอเมก้า-6 สูง จะมีโอกาสเกิดภาวะซึ่มเศร้ามากกว่าปกติ ซึ่งการรักษาคนไข้ซึมเศร้าในโรงพยาบาลพบว่า DHA ให้ผลในการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับคนไข้ที่ได้รับ DHA

น้ำมันปลา หลากหลายประโยชน์ต่อสุขภาพ

1.เบาหวาน เบาหวานที่พบบ่อย คือ เบาหวานชนิดที่สองที่มักพบในผู้ใหญ่ที่อ้วน ซึ่งนักวิ
จัยชาวเนเธอร์แลนด์ค้นพบว่า กรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา จะช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน

2.ปวดไมเกรน กรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารพรอสตาแกลนดิน และลดการหลั่งของสารซีโลโทนิน ทำให้การเกาะตัวของเกร็ดเลือดลดลงในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง จึงมีส่วนช่วยลดอาการไมเกรนได้

3.หอบหืด การรับประทานน้ำมันปลาจะช่วยลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่เป็นตัวการสำคัญให้เกิดอาการของหอบหืดขึ้น คือ สารลิวโคไตรอิน และพรอสตาแกลนดิน ดังนั้นการรับประทานน้ำมันปลาอย่าต่อเนื่องจะช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้

น้ำมันปลาที่ดีต้องปลอดสารพิษ คือ น้ำมันปลาคุณภาพยา
ปัจจัยที่สำ
คัญที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการเลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันปลา คือ คุณภาพและความปลอดภัย แต่กลับพบว่า น้ำมันปลาคุณภาพต่ำส่วนใหญ่ที่ผลิตภายใต้มาตรฐานอาหารทั่วไป มักพบสารปบเปื้อนจำพวก ตะกั่ว ปรอท สารหนู และยาฆ่าแมลง เจือปนมาจากขั้นตอนการผลิต เนื่องจากความเข้มงวดของการควบคุมคุณภาพของน้ำมันปลาในประเทศไทย และบางประเทศทั่วโลก อาจยังไม่เข็มงวดมากนัก เพราะผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาจัดอยู่ในสินค้าประเภทกลุ่มอาหารทั่วไป ดังนั้นผู้ผลิตที่ผลิตน้ำมันปลาภายใต้มาตรฐานยาระดับสากล ที่มีการควบคุมคุณภาพการผลิต และคัดสรรบุคลากรทางการแพทย์เพื่อช่วยคัดกรองผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด

และเนื่องจากน้ำมันปลาที่สกัดจากปลาต่างสายพันธุ์ จะทำให้ปริมาณของ EPA และ DHA ที่ต่างกัน ควรเลือกน้ำมันปลาที่สกัดจากปลาทะเลน้ำลึกในเขตหนาวจากไอซ์แลนด์ ซึ่งมั่นใจได้ว่ามีปริมาณโอเมก้า-3 สูงจะประกอบไปด้วย EPA 18% และ DHA 12% ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้รับประทาน 0.3-0.5 กรัม ของ EPA + DHA ซึ่งเพียงพอ แต่มีผู้ผลิตบางรายผลิตน้ำมันปลาที่มี % EPA + DHA สูงขึ้นในสัดส่วน EPA 30% และ DHA 20% ซึ่งสะดวกในการรับประทานมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็อาจต้องจ่ายเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคความพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ

สนับสนุนข้อมูลโดย ศูนย์ข้อมูลวิชาการ
บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ พีทีวาย จำกัด
MEGA We Care

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

น้ำมันปลาเป็นแหล่งธรรมชาติของโอเมก้า-3 สิ่งมหัสจรรย์เพื่อหัวใจและสมอง

กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายโดยเฉพาะกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ส่วนใหญ่กรดไขมันชนิดนี้พบได้ในไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันปลา ซึ่งถือเป็นแหล่งจากธรรมชาติที่พบมากและมีคุณภาพดี ปัจจุบันความสนใจทางการแพทย์เกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า-3 จากน้ำมันปลาเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดย

เริ่มจากข้อมูลที่ ชาวเอสกิโมมีเปอร์เซนต์ของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตันต่ำ เมื่อศึกษาถึงภาวะโภชนาการ จึงพบว่าอาหารที่ชาวเอสกิโมรับประทานในชีวิตประจำวัน คือ ปลาและแมวน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีโอเมก้า-3 ปริมาณสูงปัจจุบันจึงมีการยืนยันทางการแพทย์ถึงประโยชน์ที่สำคัญของกรดไขมันโอเมก้า-3
ต่อร่างกายในการลดความเสี่ยงหรือป้องกันการเกิดโรคๆ เช่น
1.โรคหัวใจและสมองขาดเลือด
2.ช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ลดความดันโลหิต
3.ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อเสื่อม ข้อรูมาตอยด์
4.ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความเสื่อมของสมอง โรคซึมเศร้า และบำรุงสายตา

5.บรรเทาอาการของโรคผิวหนังบางชนิด เช่น สะเก็ดเงิน โรคเรื้อนกวาง
6.ป้องกันหรือบรรเทาโรคหอบหืด
7.ปวดไมเกรน
8.เบาหวาน

น้ำมันปลาเป็นสารอาหารประเภทไขมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันในกลุ่ม Omega
-3 Polyunsaturated Fatty Acid ซึ่งมีกรดไขมันที่สำคัญอยู่ 2 ชนิดคือ
1.EPA (E
icosapentaenoic Acid) กรดไขมันชนิดนี้ มีส่วนช่วยลดระดับไขมันกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ป้องกันไขมันอุตันเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในหลอดเลือด ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและสมองอุดตัน
2.DHA (Docosahexaenoic Acid) กรดไขมัน DHA มีความสำคัญต่อการพัฒนาสมอง
และสายตา ช่วยเสริมสร้างและป้องกันความเสื่อมของสมอง การเรียนรู้ และความจำ รวมถึงระบบสาตา ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

น้ำมันปลา สำคัญต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
1.ป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือด น้ำมันปลาจะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและลดไขมันในเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจที่รั
บประทานน้ำมันปลา วันละ 3,000 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินอี
ธรรมชาติ 200-300ยูนิต สามารถลดอัตราการตายเนื่องจากหัวใจล้มเหลวลง 15% เมื่องเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานน้ำมันปลา

2.ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน กรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลาเป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) อันได้แก่ พรอสตาแกลนดิน-3(Prostaglandins-3) และทรอมบอกแซน-3 (Thromboxan-3) ซึ่งสารกลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดจึงมีส่วนช่วยป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด และช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบใหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ลดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ

3.ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ไขมันกลีเซอร์ไรด์สูงในเลือด ถือเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอด
ลือด ซึ่งเป็นโรคที่คร่าชีวิตประชากรโลกปีละหลายแสนคน หรือปีละหลายพันคนสำหรับประชากรไทย ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันกลีเซอร์ไรด์สูงถึง 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร น้ำมันปลาก็ยังเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และมี่สำคัญ คือ ความปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียงต่องร่างกายสามารถใช้ร่วมกับยา หรือสารสกัดจากธรรมชาติโพลีโคซานอล ในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล สำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงทั้ง 2 ชนิด

4.ลดความดันโลหิตสูง ผลในการลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่มาก ซึ่ง John Hopkins Medical School ได้สรุปผลการศึกษาจาก 17 รายการศึกษาทางคลีนิค พบว่าการรับประทานน้ำมันปลาประมาณ 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถช่วยลดความดันล่าง
(Diastolic pressure) ได้ 3.5 มิลลิเมตรปรอท และความดันบน (Systolic pressure) ได้ถึง 5.5 มิลลิเมตรปรอท เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลา จุช่วยในหลอดเลือดขยายตัว และป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น จึงมีผลให้ความดันโลหิตลดลง โดยน้ำมันปลาจะไม่มีผลต่อความดันในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ

น้ำมันปลา เพิ่มคุณภาพชีวิตลดอาการข้อเสื่อม(Osteoarthritis) ข้อรูมาตอยด์(Rhe
umatoid arthritis)
น้ำมันป
ลามีผลลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอับเสบของข้อ เช่น Interleukin-1, Tumornecrosis factor และ EPA (Eicosapentaenoic Acid) ในน้ำมันปลายังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสาร PGE 3ช่วยลดอาการอับเสบของข้อ โดยรายงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Surgical Neurology ระบุว่าน้ำมันปลาสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดคอ หรือปวดหลังเรื้อรัง โดยทำการศึกษากับผู้ป่วย 250 คน รับประทานน้ำมันปลาวันละ 2.6 กรัม ในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นลดปริมาณลงเหลือวันละ1.2 กรัม พบว่าหลังจากรับประทานน้ำมันปลา 75 วัน ผู้ป่วยประมาณ 59% สามารถเลิกรับประทานยาแก้ปวดต่างๆ ผู้ป่วยประมาณ 60% พบว่าอาการปวดหลังและปวดคอลดลง และผู้ป่วยกว่า 88% รู้สึกพึงพอใจกับผลที่ได้รับและยืนยันที่จะรับประทานน้ำมันปลาต่อ


สนับสนุนข้อมูลโดย ศูนย์ข้อมูลวิชาการ
บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ พีทีวาย จำกัด