Sponsored

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

แหล่งธรรมชาติของโอเมก้า -3 สิ่งมหัสจรรย์ เพื่อหัวใจและสมอง ภาค 2

น้ำมันปลา สำคัญต่อระบบสมอง
1.ลดเซลล์สมองเสื่อม ป้องกันโรคสมองเสื่อม จาการศึกษาพบว่า 40% ของกรดไขมันในสมอง และ 60% ของกรดไขมันในประสาทตา คือ DHA(Docosahexaenoic Acid) ทำให้กรดไขมัน DHA ในน้ำมันปลามีบทบาทที่สำคัญและจำเป็นต่อสมอง ผลวิจัยทางการแพทย์จากมหาวิยาลัย UCLA ของอเมริกา พบว่าการรับประทานน้ำมันปลาช่วยป้องกันสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์(Alzheimer) ได้ เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ในคนสูงอายุกว่า 1,000 คน เป็นเวลา 10 ปี พบว่าระดับ DHA ที่ลดต่ำลงก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม

2.ลดภาวะซึมเศร้า จากการวิจัยพบว่าผู้บริโภคปลาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีอัตราเป็นโรคซึมเศร้าต่ำ เพราะสมดุลของกรดไขมันในร่างกายมีผลต่อความรุนแรงในการเกิดโรคซึมเศร้า คนที่มีระดับของกรดไขมันโอเมก้า-3 ต่ำ และโอเมก้า-6 สูง จะมีโอกาสเกิดภาวะซึ่มเศร้ามากกว่าปกติ ซึ่งการรักษาคนไข้ซึมเศร้าในโรงพยาบาลพบว่า DHA ให้ผลในการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับคนไข้ที่ได้รับ DHA

น้ำมันปลา หลากหลายประโยชน์ต่อสุขภาพ

1.เบาหวาน เบาหวานที่พบบ่อย คือ เบาหวานชนิดที่สองที่มักพบในผู้ใหญ่ที่อ้วน ซึ่งนักวิ
จัยชาวเนเธอร์แลนด์ค้นพบว่า กรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา จะช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน

2.ปวดไมเกรน กรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารพรอสตาแกลนดิน และลดการหลั่งของสารซีโลโทนิน ทำให้การเกาะตัวของเกร็ดเลือดลดลงในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง จึงมีส่วนช่วยลดอาการไมเกรนได้

3.หอบหืด การรับประทานน้ำมันปลาจะช่วยลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่เป็นตัวการสำคัญให้เกิดอาการของหอบหืดขึ้น คือ สารลิวโคไตรอิน และพรอสตาแกลนดิน ดังนั้นการรับประทานน้ำมันปลาอย่าต่อเนื่องจะช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้

น้ำมันปลาที่ดีต้องปลอดสารพิษ คือ น้ำมันปลาคุณภาพยา
ปัจจัยที่สำ
คัญที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการเลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันปลา คือ คุณภาพและความปลอดภัย แต่กลับพบว่า น้ำมันปลาคุณภาพต่ำส่วนใหญ่ที่ผลิตภายใต้มาตรฐานอาหารทั่วไป มักพบสารปบเปื้อนจำพวก ตะกั่ว ปรอท สารหนู และยาฆ่าแมลง เจือปนมาจากขั้นตอนการผลิต เนื่องจากความเข้มงวดของการควบคุมคุณภาพของน้ำมันปลาในประเทศไทย และบางประเทศทั่วโลก อาจยังไม่เข็มงวดมากนัก เพราะผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาจัดอยู่ในสินค้าประเภทกลุ่มอาหารทั่วไป ดังนั้นผู้ผลิตที่ผลิตน้ำมันปลาภายใต้มาตรฐานยาระดับสากล ที่มีการควบคุมคุณภาพการผลิต และคัดสรรบุคลากรทางการแพทย์เพื่อช่วยคัดกรองผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด

และเนื่องจากน้ำมันปลาที่สกัดจากปลาต่างสายพันธุ์ จะทำให้ปริมาณของ EPA และ DHA ที่ต่างกัน ควรเลือกน้ำมันปลาที่สกัดจากปลาทะเลน้ำลึกในเขตหนาวจากไอซ์แลนด์ ซึ่งมั่นใจได้ว่ามีปริมาณโอเมก้า-3 สูงจะประกอบไปด้วย EPA 18% และ DHA 12% ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้รับประทาน 0.3-0.5 กรัม ของ EPA + DHA ซึ่งเพียงพอ แต่มีผู้ผลิตบางรายผลิตน้ำมันปลาที่มี % EPA + DHA สูงขึ้นในสัดส่วน EPA 30% และ DHA 20% ซึ่งสะดวกในการรับประทานมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็อาจต้องจ่ายเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคความพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ

สนับสนุนข้อมูลโดย ศูนย์ข้อมูลวิชาการ
บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ พีทีวาย จำกัด
MEGA We Care

ไม่มีความคิดเห็น: