Sponsored

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

น้ำมันปลาเป็นแหล่งธรรมชาติของโอเมก้า-3 สิ่งมหัสจรรย์เพื่อหัวใจและสมอง

กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายโดยเฉพาะกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ส่วนใหญ่กรดไขมันชนิดนี้พบได้ในไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันปลา ซึ่งถือเป็นแหล่งจากธรรมชาติที่พบมากและมีคุณภาพดี ปัจจุบันความสนใจทางการแพทย์เกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า-3 จากน้ำมันปลาเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดย

เริ่มจากข้อมูลที่ ชาวเอสกิโมมีเปอร์เซนต์ของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตันต่ำ เมื่อศึกษาถึงภาวะโภชนาการ จึงพบว่าอาหารที่ชาวเอสกิโมรับประทานในชีวิตประจำวัน คือ ปลาและแมวน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีโอเมก้า-3 ปริมาณสูงปัจจุบันจึงมีการยืนยันทางการแพทย์ถึงประโยชน์ที่สำคัญของกรดไขมันโอเมก้า-3
ต่อร่างกายในการลดความเสี่ยงหรือป้องกันการเกิดโรคๆ เช่น
1.โรคหัวใจและสมองขาดเลือด
2.ช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ลดความดันโลหิต
3.ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อเสื่อม ข้อรูมาตอยด์
4.ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความเสื่อมของสมอง โรคซึมเศร้า และบำรุงสายตา

5.บรรเทาอาการของโรคผิวหนังบางชนิด เช่น สะเก็ดเงิน โรคเรื้อนกวาง
6.ป้องกันหรือบรรเทาโรคหอบหืด
7.ปวดไมเกรน
8.เบาหวาน

น้ำมันปลาเป็นสารอาหารประเภทไขมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันในกลุ่ม Omega
-3 Polyunsaturated Fatty Acid ซึ่งมีกรดไขมันที่สำคัญอยู่ 2 ชนิดคือ
1.EPA (E
icosapentaenoic Acid) กรดไขมันชนิดนี้ มีส่วนช่วยลดระดับไขมันกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ป้องกันไขมันอุตันเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในหลอดเลือด ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและสมองอุดตัน
2.DHA (Docosahexaenoic Acid) กรดไขมัน DHA มีความสำคัญต่อการพัฒนาสมอง
และสายตา ช่วยเสริมสร้างและป้องกันความเสื่อมของสมอง การเรียนรู้ และความจำ รวมถึงระบบสาตา ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

น้ำมันปลา สำคัญต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
1.ป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือด น้ำมันปลาจะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและลดไขมันในเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจที่รั
บประทานน้ำมันปลา วันละ 3,000 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินอี
ธรรมชาติ 200-300ยูนิต สามารถลดอัตราการตายเนื่องจากหัวใจล้มเหลวลง 15% เมื่องเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานน้ำมันปลา

2.ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน กรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลาเป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) อันได้แก่ พรอสตาแกลนดิน-3(Prostaglandins-3) และทรอมบอกแซน-3 (Thromboxan-3) ซึ่งสารกลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดจึงมีส่วนช่วยป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด และช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบใหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ลดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ

3.ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ไขมันกลีเซอร์ไรด์สูงในเลือด ถือเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอด
ลือด ซึ่งเป็นโรคที่คร่าชีวิตประชากรโลกปีละหลายแสนคน หรือปีละหลายพันคนสำหรับประชากรไทย ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันกลีเซอร์ไรด์สูงถึง 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร น้ำมันปลาก็ยังเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และมี่สำคัญ คือ ความปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียงต่องร่างกายสามารถใช้ร่วมกับยา หรือสารสกัดจากธรรมชาติโพลีโคซานอล ในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล สำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงทั้ง 2 ชนิด

4.ลดความดันโลหิตสูง ผลในการลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่มาก ซึ่ง John Hopkins Medical School ได้สรุปผลการศึกษาจาก 17 รายการศึกษาทางคลีนิค พบว่าการรับประทานน้ำมันปลาประมาณ 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถช่วยลดความดันล่าง
(Diastolic pressure) ได้ 3.5 มิลลิเมตรปรอท และความดันบน (Systolic pressure) ได้ถึง 5.5 มิลลิเมตรปรอท เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลา จุช่วยในหลอดเลือดขยายตัว และป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น จึงมีผลให้ความดันโลหิตลดลง โดยน้ำมันปลาจะไม่มีผลต่อความดันในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ

น้ำมันปลา เพิ่มคุณภาพชีวิตลดอาการข้อเสื่อม(Osteoarthritis) ข้อรูมาตอยด์(Rhe
umatoid arthritis)
น้ำมันป
ลามีผลลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอับเสบของข้อ เช่น Interleukin-1, Tumornecrosis factor และ EPA (Eicosapentaenoic Acid) ในน้ำมันปลายังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสาร PGE 3ช่วยลดอาการอับเสบของข้อ โดยรายงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Surgical Neurology ระบุว่าน้ำมันปลาสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดคอ หรือปวดหลังเรื้อรัง โดยทำการศึกษากับผู้ป่วย 250 คน รับประทานน้ำมันปลาวันละ 2.6 กรัม ในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นลดปริมาณลงเหลือวันละ1.2 กรัม พบว่าหลังจากรับประทานน้ำมันปลา 75 วัน ผู้ป่วยประมาณ 59% สามารถเลิกรับประทานยาแก้ปวดต่างๆ ผู้ป่วยประมาณ 60% พบว่าอาการปวดหลังและปวดคอลดลง และผู้ป่วยกว่า 88% รู้สึกพึงพอใจกับผลที่ได้รับและยืนยันที่จะรับประทานน้ำมันปลาต่อ


สนับสนุนข้อมูลโดย ศูนย์ข้อมูลวิชาการ
บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ พีทีวาย จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น: